สแตนเลส มันก็คือเหล็กนั่นเอง แต่แค่ไม่ใช่เหล็กธรรมดาทั่วไป ถ้าเราหมั่นล้างทำความสะอาดขจัดคราบไขมันที่เกราะอยู่บนผิวของสแตนเลส ทำให้อ๊อกซิเจนในอากาศสามารถทำปฎิกริยากับโครเมี่ยมในผิวสเตนเลส เพื่อสร้างฟิมล์ป้องกันสนิม แต่ถ้าเราไม่ล้าง อ๊อกซิเจนไม่สามารถผ่านชั้นฟิมล์ไขมันได้ จะใช้ระยะเวลาประมาณ 4-6 เดือนก็สามารถเกิดสนิมได้นะครับ
แล้วมาตรฐานสแตนเลส ต่างกันอย่างไร?
สเตนแลส (Stainless steel) คืออะไร
Stainless เป็นการผสมกันของคำว่า Stain ที่แปลว่า คราบ และ less ที่แปลว่าน้อย รวมกันได้ว่า เป็นคราบน้อย หรือ เป็นคราบยากนั้นเอง คราบที่ว่านี้ ก็อาจจะหมายถึงสนิม เนื่องจากในอดีต เหล็กทั่วไปจะเป็นสนิมได้ง่าย จึงมีการพัฒนา Stainless ขึ้นมา และ มีการกำหนดมาตรฐานสแตนเลส เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อนที่เราจะไปกล่าวถึง “มาตรฐานสแตนเลส” กันนั้น เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน จะขออธิบายเพื่อความเข้าใจในตัวของ สแตนเลส กันก่อน สแตนเลส มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “เหล็กกล้าไร้สนิม” เป็นธาตุผสมกันระหว่าง “เหล็ก” และ “โครเมี่ยม” เป็นหลัก โดยหากจะมีการผสมของคาร์บอน ก็ต้องน้อยกว่า 0.1% และมีการผสมส่วนในส่วนของโครเมี่ยมไม่น้อยกว่า 10.5% จึงจะเรียกว่า สแตนเลส
เหล็ก เกิดสนิมขึ้นได้อย่างไร ?
เราได้ทราบกันแล้วการเกิดขึ้นของสแตนเลส เกิดขึ้นเพื่อลดปัญหาการเกิดสนิมของ “เหล็ก” แบบเดิมๆ แต่ทำไมเหล็กถึงมีสนิม แล้ว สแตนเลสมีโอกาสเกิดสนิมมากน้อยแค่ไหน วิธีการเกิดสนิมแตกต่างกันอย่างไร การเกิดสนิมของ“เหล็ก” เกิดจากการที่ เนื้อเหล็กสัมผัสกับ อ๊อกซิเจนในอากาศ จะทำให้เกิด สนิมสีแดง โดยปกติเพื่อป้องกันสนิมจะมีการทาสี หรือเคลือบน้ำมันเพื่อป้องกัน แต่หากเหล็กนั้นไปขูดกับอะไรก็ตามจนสารที่เคลือบหลุดร่อน ก็จะทำให้เนื้อสัมผัสจนเกิดสนิมได้
หลักการในเกิดสนิมของ”สแตนเลส”
สเตแตลสกลับกันกับเหล็กแบบด้านตรงกันข้ามเลยทีเดียว กล่าวคือ สแตนเลส ยิ่งโดยออกซิเจน ยิ่งดี ไม่เกิดสนิม แต่กลับกันหากมีการขูดขีด จนเกิดการเป็นสนิมที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนถ่ายกระแสไฟฟ้าสถิตย์ระหว่างสแตนเลส กับเหล็ก และการลามของสนิมแบบสแตนเลสจะเป็นการกินลงไปจากจุดเดียวจนเป็นโพรงลึก ต่างจากแบบเหล็กที่กินที่ละชั้นของเหล็ก